Archive | Uncategorized RSS feed for this section

พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการศึกษาบำบัดและการใช้ชีวิตในชุมชนเพื่อเด็กที่ต้องการการดูแลพิเศษ

7 ส.ค.

มีข่าวประชาสัมพันธ์มาฝากสำหรับผู้สนใจครับ

พูดคุย แลกเปลี่ยน  เรียนรู้   

เรื่องการศึกษาบำบัดและการใช้ชีวิตในชุมชนเพื่อเด็กที่ต้องการการดูแลพิเศษ

 เส้นทางชีวิตอันน่าพิศวงได้นำพาสองสาวที่เดินทางมาจากคนละทิศทาง ให้มุ่งมั่นเข้าสู่เส้นทางเดียวกัน คือการเข้าไปเรียนรู้ชีวิตในชุมชนที่มีการศึกษาเพื่อการเยียวยาเด็กพิเศษ

หรือที่เรียกว่า Curative Education  ซึ่งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดมนุษยปรัชญา (Anthroposophy)    ของรูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Dr. Rudolf Steiner)

 เธอทั้งสองได้เรียนรู้อะไรมาบ้างและอยากจะมาบอกเล่าอะไรให้พวกเราฟังเพื่อประโยชน์สุขของเด็กพิเศษและครอบครัว รวมทั้งสังคมไทยในวงกว้าง   

ขอเชิญคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้สนใจ ในงานการศึกษาบำบัดเพื่อเด็กพิเศษ มาร่วมฟังประสบการณ์และเรียนรู้ พูดคุยอย่างเป็นกันเอง  ในวันเสาร์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๒

เวลา ๙.๐๐ ถึง ๑๒.๓๐ น.   ณ  ศูนย์การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียนวัดศิริพงษ์ 

 กรุณาแจ้งความประสงค์การเข้าร่วมได้ที่ ครูอ้วน abhinpon@hotmail.com

โทร. 086 302 0129 หรือ 02 372 7239

ช่วงเช้า 7.00-8.00 น.  ช่วงเย็น 15.00-20.00 น.

(ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของผู้จัดสถานที่และอุปกรณ์) 

 รายการพูดคุย

9.00-9.45            แนะนำตัว และเล่าประสบการณ์ ในชุมชนแคมป์ฮิลล์   ประกอบ slide
9.45-10.00          กิจกรรมผ่อนคลาย (เพลง)
10.00-10.30        กิจกรรมกลุ่ม 1
                        “สิ่งที่ฉันเห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น”
10.30-10.45        พัก (กรุณานำของว่างมาแบ่งปัน)
10.45-12.00        กิจกรรมกลุ่ม 2
                        2.1 “สังเกตตนเอง”
                        2.2 “อะไรคือคุณสมบัติสำคัญของการทำงานกับเด็กพิเศษ”
12.00-12.15        กิจกรรมผ่อนคลาย (เพลง)
12.15-12.30        สรุป / ถามตอบ

เชิญร่วมงาน 90ปีการศึกษาวอลดอร์ฟ 4-5กันยายน 2552 ที่ครุศาสตร์ จุฬาฯ

Living Concept ในแนวคิดของสไตเนอร์

18 ก.ค.

ผมได้รับบทความชุดใหม่จากครูอ้วน เรื่อง  Living Concept  เท่าที่ผมอ่านดูประเด็นหลักๆที่จับความได้จากบทความนี้คือ  เราไม่ควรมีข้อตัดสินที่ตายตัวหรือแบ่งแยกถูกผิดชัดเจนเด็ดขาดไปกับทุกอย่าง หลายๆแนวคิด เกิดขึ้นและพัฒนาต่อยอดไปสู่แนวคิดใหม่ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ไปเรื่อยๆ  
หมอพรเองเคยพูดกับผู้ปกครองอยู่คราวหนึ่ง ที่อาจเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้  ในตอนนั้นมีกระแสความคิดเรื่องสีเหลือง สีแดง แบ่งข้าง หมอพรบอกผู้ปกครองว่า อย่านำความคิดที่เราเห็นด้วยกับข้างไหนข้างหนึ่ง ไปใส่ให้แก่ลูก ความคิดของเราก็อยู่บนฐานประสบการณ์และความรับรู้ของเรา  ซึ่งที่จริงสิ่งที่เราควรทำให้แก่เด็กๆก็คือการ ทำอย่างไรให้เค้าเมื่อโตขึ้นแล้ว มีวิจารณญาณที่ดี มีสติ สามารถเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องได้อยู่เสมอ ด้วยตัวของเค้าเอง แม้นว่าสิ่งนั้นอาจจะขัดแย้งกับความเชื่อของเราก็ตาม  
ท่านใดอาจเห็นเป็นอย่างอื่นอาจช่วยแสดงความคิดเห็นได้ครับ

ผมได้ขออนุญาตนำส่วนที่ครูอ้วนเขียนแนะนำที่มาที่ไปของบทความมาลงไว้ด้วย ….เชิญอ่านครับ

นี่เป็นจดหมายที่ครูอ้วนเขียนไปถามคุณครูแฮงค์ (Henk  Bak) คุณครูที่ครูอ้วนเคารพมากท่านหนึ่ง นานแสนนานมาแล้ว    ป่านนี้คุณครูน่าจะอายุเจ็ดสิบกว่าแล้ว  เป็นครูที่สอนประวัติศาสตร์ศิลป์บนทัศนะมนุษยปรัชญาให้แก่พวกฝึกหัดครูสไตเนอร์ และที่สำคัญคือครูมีวิธีคิดมีการมองโลกแบบทำให้เราอึ้งทึ่งอยู่บ่อยๆ
หนังสือ Study of Man หรือชื่อใหม่ว่า  The Foundations of Human Experience ของ Dr.Rudolf Steiner  ยังอมตะนิรันดร์กาลค่ะ  อ่านยาก  ยากและยากอย่างที่พ่อติ๊กทราบอยู่แล้ว    การได้ผู้รู้ซึ่งมีวุฒิภาวะแล้วมาย่อยให้เราฟัง เป็นสิ่งประเสริฐสำหรับชีวิตครูแบบครูอ้วนค่ะ  เสียดายที่ถามไปแค่เรื่องนี้เท่านั้น  ยังมีอีกมากมายหลายบท 
เมื่อสองสามวันได้กลับมาอ่าน มันกระตุกสำนึกในการทำหน้าที่ครูให้เกิดขึ้น  เป็นพลังใหม่ๆ แม้ว่าที่ผ่านมาจะรู้สึกว่าตัวเองพลาดไป  แต่ก็รู้สึกดีที่ได้มาทบทวนและไตร่ตรองตัวเองที่ปล่อยวิธีคิดยอมไปกับโลกกระแสหลักมานาน   สงสัย  Spirit ของสไตเนอร์คงช่วยให้มาพบนะเนี่ย…..   
ปัญหาในการแปลคือ ยังไม่สามารถแปล keywords ได้  ไม่เชื่อมั่นในความรู้ภาษาไทยตัวเอง แน่นอนว่ารวมทั้งภาษาอังกฤษโดยเฉพาะแบบมนุษยปรัชญา อะไรที่อ่านแล้วไม่น่าเกลียด  ก็เลยคงศัพท์เดิมไว้ค่ะ 
คุณติ๊กช่วยอ่านก่อนนะคะ   อยากฟัง feedback ค่ะ  แก้ไขได้นะคะ  คิดว่าจะดีมั้ยถ้าลงใน blog คุณติ๊ก แล้วแต่พิจารณานะคะ
แต่เป็นสิ่งที่อยากให้เผยแพร่  แม้จะดูฟังยากเข้าใจยาก
 
ครูอ้วน 

จดหมายจากครูแฮงค์เรื่อง Living Concept ในแนวคิดของสไตเนอร์

……ขอบคุณสำหรับจดหมายของเธอรวมทั้งคำเชื้อเชิญให้กลับไปอ่านบทที่ 9 ของ Study of Man อีกครั้งนะ    ค่ายฤดูร้อนของเราเป็นไปด้วยดี  มีผู้เข้าร่วมถึง 35 คน รวมทั้งทีนีก้า, บาเบต, ทีแกน และครอบครัวของเรา อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาบำบัด (Curative Education) ตอนสุดท้าย

11 ก.ค.

คุณครูอ้วน (อภินทร์พร กิตติพีรพัฒน์) ได้ส่งบทความเรื่อง การศึกษาบำบัด (Curative Education)  ตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายแล้ว  ตอนนี้เน้นพูดถึง Camphill  ซึ่งเป็นแนวคิดของชุมชนที่ดูและเด็กพิเศษ  เชิญอ่านได้ครับ

ชีวิตและการทำงานในชุมชนแคมป์ฮิลล์ (Camphill)

เรียบเรียงโดย คุณครูอ้วน (อภินทร์พร กิตติรพีพัฒน์)

 

อุดมคติ 

 จุดมุ่งหมายหลักของแคมป์ฮิลล์นั้นมิได้ก่อตั้งขึ้นมาเพียงเพื่อเป็นสถานที่ที่ให้การดูแลเด็กที่ต้องการการดูแลพิเศษเท่านั้น  แต่ยังมุ่งหวังที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์ที่จะให้ประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติด้วย 

         เมื่อย้อนอดีตไปในสมัยที่ยุโรปเป็นยุคมืด  ซึ่งเป็นยุคสมัยของนาซี  มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นทั้งหมอและครูจากเวียนนาได้รวมตัวกันขึ้น  พวกเขามีกิจกรรมพบกับกลุ่มชาวยิวที่สนใจมนุษยปรัชญา   มีการพบกันทุกอาทิตย์  แต่ตอนหลังก็ต้องหลบหนีออกจากออสเตรียเนื่องจากมีการกวาดล้างชาวยิว   ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ออสเตรียถูกบุกและนาซีก็เข้ายึดครอง  พวกที่ต้องถูกกำจัดก็คือชาวอิสราเอล  รวมทั้งกลุ่มที่เป็นมนุษยนิยมก็ไม่สามารถอยู่รอดได้  ทางกลุ่มจึงตัดสินใจหลบหนีออกจากออสเตรีย     ในช่วงที่ฮิตเลอร์ยึดครองออสเตรีย  ไม่ใช่เฉพาะชาวยิวเท่านั้นที่ถูกกำจัด  พวกเด็กพิเศษเองก็ถูกกำจัดไปด้วย  เนื่องจากไม่มีคุณค่าที่จะมีชีวิตอยู่ในโลก    คนในกลุ่มเหล่านี้ต่างก็หลบหนีกระจัดกระจายไปอยู่คนละทิศละทาง  แต่ก็ยังมีความคิดที่จะหาทางติดต่อกันและมีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างหนึ่งว่า  เมื่อไรที่หาสถานที่พักพิงได้แล้ว ก็จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายซึ่งก็รวมถึงเด็กพิเศษด้วย  อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาบำบัด (Curative Education)

27 มิ.ย.

คุณครูอ้วน (อภินทร์พร กิตติรพีพัฒน์) ได้แวะเข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจว่าเนื้อหาในเว็บไซต์เป็นประโยชน์มาก  แล้วยังกรุณาที่จะทยอยนำบทความที่ครูอ้วนได้เขียนและได้แปลไว้ในวาระต่างๆมาเรียบเรียงใหม่และยินดีให้นำมาถ่ายทอดลงที่นี่  บทความนี่เป็นบทความแรกที่ผมได้รับมา และคาดว่าคงจะมีทยอยมาเป็นลำดับ

ครูอ้วนเท่าที่ผมทราบ เคยเป็นครูที่โรงเรียนปัญโญทัยในช่วงที่ยังอยู่ที่หมู่บ้านปัญญา และ ยังเคยเป็นครูชั้นอนุบาลที่โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการริเริ่มหลายๆเรื่อง เช่นการจัดกลุ่มศึกษาให้พ่อแม่ได้เข้าใจการศึกษาวอลดอร์ฟ การจัดกระบวนการทำงานเพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่มีส่วนช่วยการทำงานของครูและโรงเรียน   ต่อมาเมื่อผมและกลุ่มพ่อแม่ได้ร่วมกันจัดทำบ้านเรียนมัธยมให้ลูกๆชองพวกเราเมื่อปีการศึกษา2550-2551  ครูอ้วนได้ให้ความกรุณาพวกเราโดยสละเวลาคัดสรรองค์ความรู้ทางการศึกษาวอลดอร์ฟ และจัดกลุ่มศึกษาให้กับกลุ่มแกนของบ้านเรียนมัธยมเป็นประจำทุกสัปดาห์  ปัจจุบันความสนใจของครูอ้วนน่าจะอยู่ที่การศึกษาบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ ด้วยภาระหน้าที่ที่รับดูแลเด็กพิเศษอยู่ในตอนนี้  ดังบทความชิ้นแรกที่นำมาลงในคราวนี้ก็เป็นเรื่องการศึกษาบำบัดเช่นกัน  เชิญอ่านได้ครับ

 

ขอขอบพระคุณพี่อุ้ย อภิสิรี จรัลชวนะเพท แห่งมูลนิธิอนุบาลบ้านรักที่ได้เอื้อเฟื้อบทความนี้ ซึ่งคัดมาจาก    “ข่าวสารบ้านรัก ฉบับที่ ๒๗ และ ๒๘ ปีที่ ๕   ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๖”   ในหน้าสายใยสังคมค่ะ          เนื่องจากการศึกษาบำบัดหรือ Curative Education เป็นอีกกิ่งก้านหนึ่งที่แตกออกมาจากแนวคิดของ          ดร. รูดอร์ฟ สไตเนอร์   ซึ่งรวมถึงแคมป์ฮิลล์ด้วยนั้น      เมื่อเร็วๆนี้ในประเทศไทยเองก็เกิดกลุ่มคนที่สนใจการศึกษาพิเศษแนวนี้และเกิดมีการจัดอบรมครูการศึกษาบำบัดในแนวมนุษยปรัชญาขึ้น    เมื่อได้ย้อนกลับมาอ่านบทความนี้ก็คิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆที่สนใจและกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการช่วยเหลือลูกๆที่มีความต้องการเป็นพิเศษค่ะ  ลองอ่านดูนะคะ….หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมลอง ค้นหาที่ camphill movement  หรือ Anthroposophical curative education http://www.khsdornach.org/en/home-de/ หรือ http://anthromedia.com/ 

 

การศึกษาบำบัด (Curative Education)   และชีวิตกับการทำงานในแคมป์ฮิลล์ ชุมชนเพื่อเด็กที่ต้องการการดูแลพิเศษ

บทความนี้คัดมาจากการบรรยายโดยคุณ Andre Papper   ผู้ซึ่งเป็นครูการศึกษาพิเศษและทำงานในสถานการดูแลและบำบัดคนพิการในชุมชนแคมป์ฮิลล์ ที่ Percerval  สวิสเซอร์แลนด์ 

……………เวลาเรามองเด็กพิเศษ  เราจำเป็นต้องมองกลับมาดูในเด็กปกติด้วย  เพราะในความเป็นมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยภาคหนึ่งที่เรียกว่าภาคของจิตวิญญาณ (Spirit)  ซึ่งเป็นส่วนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ที่อยู่ในทุกๆชีวิต  และก็แน่นอนว่าส่วนจิตวิญญาณนี้ก็มีอยู่ในเด็กพิเศษเช่นกัน  ในอดีตกาลหลายๆคนโดยเฉพาะในยุโรป  สรุปกันว่าเด็กพิเศษเป็นการป่วยทางด้านจิตวิญญาณ  แต่ถ้าตามแนวทางของมนุษยปรัชญา  เราไม่เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น  ไม่มีทางเลยที่จิตวิญญาณจะป่วยได้  แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าอะไรบางอย่างหรือเครื่องมือบางอย่างที่อาจจะมีส่วนบกพร่องที่ทำให้เขาอยู่บนโลกไม่ค่อยได้  อาจเปรียบได้กับเครื่องดนตรีอย่างเปียนโน  การที่จะเล่นออกมาได้ดีก็จะต้องมีการเทียบเสียง  จังหวะ  จูนออกมาให้ดีเพราะแม้ว่าจะเป็นผู้เล่นที่เก่งกาจก็ตาม  ถ้าเครื่องดนตรีไม่ดี  เสียงที่จะออกมาก็ไม่ไพเราะ  ที่นี้พวกเราทุกๆคนก็เปรียบเสมือนกับผู้เล่นเปียนโน เรามีความสามารถอยู่แล้วในฐานะผู้เล่น   แต่สิ่งสำคัญมันขึ้นอยู่กับว่าเราจะเล่นให้ดีได้อย่างไร  เหมือนกับว่าถ้าเราเล่นได้ดีก็คือเราสามารถยืนอยู่ในโลกนี้ อ่านเพิ่มเติม